วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา

ระบบกล้ามเนื้อ


  ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ



1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle)

ภาพกล้ามเนื้อลาย
เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียส การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ



2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)

ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ
เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง และเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ ดังนั้นร่างกายไม่สามารถบังคับได้ จึงเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ



3.กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)

ภาพกล้ามเนื้อเรียบ
กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในเช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ

เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ 
การทำงานของกล้ามเนื้อ 
เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle 
มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน
ไบเซพหรือ (Flexors) คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว »» แขนเหยียดออกไบเซพหรือ (Flexors) หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว »» แขนงอเข้า

แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ (Bicep) หรือ (Flexors)
และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) หรือ (Extensors)


กัญชา

กัญชา

ประวัติ
         กัญชาเป็นสารเสพย์ติดซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานเป็นเวลานับพันปีโดยปรากฏอยู่ในหนังสือรวบรวมชื่อสมุนไพรของประเทศจีน สมัยจักรพรรดิเชนนัง 2737 ปีก่อนคริสต์ศักราช คุณสมบัติของกัญชาเป็นข้อโต้เถียงกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ บางคนเตือนว่ากัญชาจะนำผู้เสพไปสู่นรก ในขณะที่บางคนคิดในทางตรงข้ามว่าจะนำไปสู่สวรรค์
        พิษของกัญชาเป็นที่รู้จักกันดีในยุโรปในศตวรรษที่ 19 และต่อมาเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศสหรัฐอเมริการ ต้นเฮมพ์ ( hemp ) หรือต้นกัญชาเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีคุณสมบัตทำให้ผู้เสพเกิดความสุข
การแพร่ระบาด
        กัญชาเป็นสารเสพติดซึ่งมีผู้เสพมากที่สุดในโลก ประมาณว่ามีผู้เสพ 200 ถึง 300 ล้านคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1922 จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เคยสูบกัญชา 67 ล้านคน กัญชาเป็นสารเสพย์ติดชนิดแรกซึ่งเด็กวัยรุ่นนิยมเสพ โดยพบบ่อยในผู้ชายอายุที่พบบ่อยคือ 18 – 30 ปี อย่างไรก็ตามจากการสำรวจในปี ค.ศ. 1993 ปรากฏว่าเด็กนักเรียนอายุน้อยได้นิยมเสพกัญชามากขึ้น โดยพบว่าเด็กนักเรียนเกรด 8 ถึง 12 เคยสูบกัญชาอย่างน้อย 1 ครั้ง ถึงร้อยละ 13 ถึง 35 ส่วนในนักศึกษามหาวิทยาอัตราการสูบกัญชาเป็นประจำเท่ากับร้อยละ 9
รูปแบบของสาร
        สารเสพติดในกัญชาคือ delta-9-THC ( tetrahydrocannabinol ) ซึ่งพบในกัญชาประมาณร้อยละ 10 - 15 วิธีการเสพคือสูบและรับประทาน
อาการ
        อาการติดกัญชา ผู้ที่ติดกัญชามักจะเสพมากเป็นพัก ๆ และมักไม่เกิดอาการดื้อสาร แต่ผู้ที่เสพเป็นเวลานานอาจเกิดอาการดื้อสารได้โดยต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยอาจเสพกัญชาชนิดแรกตลอดวันเป็นเวลาหลายเดือน หรือหลายปี และใช้เวลาในแต่ละวันหมดไปกับการเสพ ทำให้มีปัญหาครอบครัว การเรียน การทำงานหรือการพักผ่อนหย่อนใจ ผู้เสพอาจมีอาการทางกาย เช่น ไอเรื้อรังหรือง่วงนอนมาก ในระหว่างเสพจะมีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน หัวเราะโดยไม่มีเหตุผลรู้สึกผ่อนคลาย ง่วงนอน อารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ามาก ขาดการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจเสีย ถูกชักจูงง่าย ตาแดง ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็วและรับประทานจุ
อันตรายและพิษของสาร
        อาการพิษมักเกิดภายในเวลาเป็นนาทีภายหลังการสูบ และจะมีอยู่นาน 3 – 4 ชั่วโมง โดยมีอาการวิตกกังวล หงุดหงิดโกรธง่าย อาจมีอารมณ์เศร้า หวาดกลัว เช่น ครุ่นคิดว่าตำรวจอาจค้นพบว่าตนเสพสารเสพย์ติด มีอาการตื่นตระหนกหวาดระแวงและมีประสาทหลอน เช่น หูแว่วได้ยินเสียงคนพูด มีความรู้สึกว่าร่างกายตนผิดปกติไป เช่น ใบหน้าบิดเบี้ยว ตาลอย หรือสิ่งแวดล้อมแปลกไป เช่น เพดานห้องเอียงหรือผู้คนรอบตัวเหมือนหุ่นยนต์

โรคที่เกิดจากพันธุกรรม

โรคที่เกิดจากพันธุกรรม

1.โรคธาลัสซีเมีย : เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนส์ที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนส์ตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะธาลัสซีเมีย
2.โรคซีสติกไฟโบรซีส : อาการจะเกิดขึ้นกับปอด และมีอาการอื่นๆ เกิดกับตับอ่อน ตับ และลำไส้ ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในโปรตีนขนย้ายคลอไรด์และโซเดียมบนผิวเซลล์เยื่อบุ ทำให้มีสารคัดหลั่งข้นเหนียวกว่าปกติ
3.โรคคนเผือก : เกิดจากยีนส์ที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างเม็ดสีขึ้นในคนที่มีลักษณะเผือก โดยส่วนมากแล้ว ภาวะผิวเผือกจะมีผลมาจากการถ่ายทอดยีนส์ด้อยมาจากทั้งพ่อและแม่ โรคคนเผือกไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่เป็นภาหะนำโรคไม่สามารถติดกันได้ด้วยการสัมผัสหรือทางเลือด
4.โรคดักแด้ : เป็นอาการความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งเกิดจาก การถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหรืออาจเกิดจากการกลายพันธุ์เฉพาะราย
5.โรคท้าวแสนปม : เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดโดยโครโมโซม ลักษณะที่พบคือ ร่างกายจะมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกาย ขนาดเล็กไปจนใหญ่แตกต่างกัน
6.โรคลูคีเมีย : โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูก ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาวจำนวนมากในไขกระดูก จนเบียดบังการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ส่วนเม็ดเลือดขาวที่สร้างนั้น ก็เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน จึงไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้
7.โรคเบาหวาน : เกิดจากสภาพร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามความเหมาะสม ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ผลของการเป็นเบาหวานทำให้ผู้ป่วยมีอาการมีน้ำตาลในเลือดสูง
8.ดาวน์ซินโดรม : เป็นความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
9.ตาบอดสี : เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เป็นอาการที่เห็นสีต่างกันไปจากสีเดิม เห็นสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่ง
10.โรคฮีโมฟีเลีย : เป็นอาการเลือดออกง่าย หยุดยาก อาการจะมีเลือดออกตามข้อ ร่างกายจะมีรอยเขียวช้ำเป็นจ้ำๆ
11.ภาวะพร่องเอนไซม์ จี- 6- พีดี : เด็กที่เป็นโรคนี้จะตัวเหลืองมากกว่าปกติ และเมื่อได้รับสารบางอย่างจะทำให้เส้นเลือดแดงแตก ภาวะนี้เกิดจากพันธุกรรมจากพ่อแม่

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่อยากให้ลูกเกิดเป็นโรคต่างๆที่กล่าวมานี้ คุณควรวางแผนชีวิตตั้งแต่เริ่มแต่งงาน จนถึงวางแผนการมีลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบร่างกายก่อนการมีลูกจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ

วิธีสร้างภูมิต้านทาน ให้วัยรุ่น

วิธีสร้างภูมิต้านทาน ให้วัยรุ่น


    การป้องกันระดับปฐมภูมิ (primary prevention) เป็นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันก่อนเกิดปัญหาโดยการให้ความรู้และสร้าง เจตคติที่ดีให้แก่วัยรุ่น จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงพบว่าวัยรุ่นที่มีความนับถือตนเองต่ำ, ครอบครัวแตกแยก, ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ไม่ดี, และขาดที่ปรึกษาเวลาทุกข์ใจ จะมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าอีกกลุ่ม เราสามารถสร้างภูมิต้านทานให้วัยรุ่นเหล่านี้ได้โดย
    1. สร้างความอบอุ่นในครอบครัว - พ่อแม่ต้องมีบุตรเมื่อมีความพร้อม มีเวลาให้ลูก มีความสมัครสมานสามัคคี เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกตลอดจนเป็นที่ปรึกษาเวลาลูกมีปัญหาหรือสงสัยคับข้อง ใจ
    2. สร้างความนับถือตนเอง (self-esteem) - ให้วัยรุ่นรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ถ้ามีบุคคลที่คอยรักเอาใจใส่และให้กำลังใจในทุกโอกาสจะทำให้เขาเกิดความ ยับยั้งชั่งใจที่จะทำพฤติกรรมใดๆ ที่สุ่มเสี่ยง
    3. สอนทักษะชีวิต (life skill) - เพื่อให้สามารถเผชิญหน้าและจัดการกับเหตุการณ์คับขันต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีเพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรง และสามารถผ่อนคลายความเครียดและซึมเศร้าได้
    4. ให้ความรู้เฉพาะด้าน - เช่น เรื่องเพศศึกษา การให้ความรู้และปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องความเป็นหญิงชายควรปลูก ฝังตั้งแต่วัยเด็กโดยให้เนื้อหาที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย ผ่านทางพ่อแม่ ครอบครัว แพทย์ โรงเรียน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนและสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตซึ่งมีบทบาทสาคัญต่อวัยรุ่นในยุคปัจจุบันนี้เป็นอย่างมาก
    5. ความรู้เฉพาะด้านอื่นๆ – ที่สาคัญ ได้แก่ ความรู้เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุโดยเฉพาะอุบัติเหตุจราจรซึ่งเป็นสาเหตุ ตายอันดับหนึ่งของวัยรุ่น และความรู้เรื่องสารเสพติด เป็นต้น

ระบบร่างกาย



ระบบร่างกาย

ระบบร่างกายประกอบด้วยสิ่งต่างๆการทำงานของระบบภายในร่างกายอาจจำแนกออกได้เป็น10 ประเภท
1.ระบบผิวหนัง   ทำหน้าที่ ปกคลุมห่อหุ้มผิวหนังร่างกาย
2.ระบบโครงกระดูก ทำหน้าที่ ร่วมกับระบบกล้ามเนื้อเพื่อช่วยร่างกายเคลื่อนไหวได้และเป็นโครงร่างของร่างกาย
3.ระบบหมุนเวียนโลหิต ทำหน้าที่ นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
4.ระบบกล้ามเนื้อ   ทำหน้าที่  ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว
5.ระบบหายใจ ทำหน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊ส
6.ระบบประสาท ทำหน้าที่ แบ่งเป็น2ส่วน ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรอบนอก รับรู้ความรู้สึกต่างๆ
7.ระบบต่อมต่างๆ ทำหน้าที่  สร้างฮอร์โมนและของเหลวทำงานร่วมกับระบบประสาท
8.ระบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่ ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอาหารต่างๆและดูดซึมกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
9.ระบบขับถ่าย  ทำหน้าที่ กำจัดของเสียจากร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ตับ ไตและลำไส้เป็นต้น
10.ระบบสืบพันธุ์ ทำหน้าที่ ระบบสืบพันธุ์อวัยวะเพศชายประกอบด้วย
1.อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
2.ถุงหุ้มอัณฑะทำหน้าที่ห่อหุ้มอัณฑะควบุุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิซึ่งตัวอสุจิจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิต่ำกว่าปกติของร่างกาย3-5 องศาเซลเซียส
3.หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
4.หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิจนตัวอสุจิเติบโตและแข็งแรงพร้อมที่จะปฎิสนธิ
5.ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่ สร้างอาหารเพื่อลำเลียงตัวอสุจิ
6.ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ
7.ต่อมคาวเปอร์ อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไปเป็นกระเปาะเล็กๆทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
1.รังไข่มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหินมพานต์ยาวประมาณ2-36 เซนติเมตรหนา 1เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาร2-3 กรัม และมี2อันอยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างทำหน้าที่ดังนี้
1.1ผลิตรังไข่ เซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบจากรังไข่ แต่ละสลับกันทุกเดือนและออกจากรังไข่ทุกรอบเดือนเรียกว่าการตกไข่ ตลอดช่วงชีวิตของเพศหญิงปกติจะมีการผลิตไข่ประมาณ400ใบ ตั้งแต่ อายุ12 ปี ถึง50 ปี จึงหยุดผลิตเซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาร24 ชั่วโมง
1.2สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ 
อีสโทรเจน เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลม สะโพกผาย เป็นต้น โพรเจสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับอีสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก
2.ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมีปลายข้างหนึ่งเปิดกับใกล้กับรังไข่เรียกว่า ปากแตร ทำหน้าที่โบกพัดให้ไข่ที่ตกมาจากรังไข่เข้าไปในท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าไปปฎิสนธิกับไข่
3.มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4.ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกเป็นทางผ่านของทารกเมื่อครบกำหนดคลอดและเป็นทางที่ประจำเดือนออกมาด้วย

หลักการออกกำลังกาย

หลักการออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังหมายถึงกิจกรรมที่ทีกระทำแล้วทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี มีความฟิต การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง
การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการแข่งขันกับตัวเอง
หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกาย อาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป
เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย

ขณะป่วยควรออกกำลังกายหรือไม่

ขณะเจ็บป่วยไม่ควรจะออกกำลังกายเพราะจะทำให้โรคเป็นมากขึ้น ควรจะพักจนอาการดีขึ้น หากพักเกินสองสัปดาห์เวลาเริ่มออกกำลังกายควรจะเริ่มเบาๆก่อน และหากท่านเป็นโรคเรื้อรังควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

จริงหรือไม่ที่การออกกำลังกายโดยการเดินดีพอพอกับการวิ่ง

การเริ่มต้นออกกำลังควรใช้วิธีเดิน เนื่องจากจะไม่เหนื่อยมาก ปวดข้อไม่มาก และลดน้ำหนักได้ ส่วนการวิ่งจะเป็นการออกกำลังที่คุณเตรียมร่างกายไว้พร้อม เพราะการวิ่งจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้เหนื่อย มีการปวดข้อ ดังนั้นการออกกำลังโดยการเดินเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลัง คนอ้วน คนที่มีโรคประจำตัว แต่สำหรับการวิ่งเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีโรค และต้องการความฟิต

คนท้องควรจะออกกำลังหรือไม่

คนท้องควรออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ออกกำลังกายแบบเบาๆโดยการเดิน ไม่ควรจะวิ่ง ไม่ควรยกของหนัก รายละเอียดอ่าน การออกกำลังในคนท้อง

จะรู้ได้อย่างไรว่าออกกำลังมากไป

ท่านสามารถสังเกตขณะออกกำลังกายว่ามากไปหรือไม่ โดยสังเกตอาการดังต่อไปนี้
  • หัวใจเต้นเร็วมากจนรู้สึกเหนื่อย
  • หายใจเหนื่อยจนพูดไม่เป็นประโยค
  • เหนื่อยจนเป็นลม
  • มีอาการปวดข้อหลังจากการออกกำลังกาย
หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการออกกำลังกายสองวัน และให้ลดระดับการออกกำลังกาย

โรคคอพอกจากการขาดไอโอดีน

โรคคอพอกจากการขาดไอโอดีนฃ




ไอโอดีนเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมนไธรอกซีน ซึ่งหลั่งโดยต่อมไธรอยด์ เมื่อร่างกายขาดไอโอดีน ปริมาณของไธรอกซีนจะลดลง มีผลให้ต่อมปิตูอิตารี (pituitary) หลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ของต่อมไธรอยด์ให้มากขึ้น ถ้าต่อมนี้โตมากๆ จะกดหลอดอาหารและหลอดลม ทำให้กลืนอาหารและหายใจได้ลำบาก ถ้าเป็นในหญิงตั้งครรภ์หรือในนมลูก จะมีผลทำให้ลูกขาดไอโอดีนได้ เด็กจะมีลักษณะเตี้ยแคระ ปัญญาอ่อนและหูหนวก เป็นใบ้ได้แต่กำเนิด 

โรคคอพอกจากการขาดไอโอดีน พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะไอโอดีนเป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารทะเล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา รัฐบาลได้สนับสนุนการป้องกันโรคคอพอก โดยเพิ่มไอโอดีนลงในเกลือที่ใช้รับประทาน ทำให้อุบัติการของโรคนี้ลดลง

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ :  นาย ทรงยศ  โสภารัตน์       อายุ : 16 ปี

วันเกิด : 8 มิถุนายน  พ.ศ.2541

สถานที่เกิด : โรงพยาบาลตะกั่วป่า

บิดาชื่อ : นาย  ตรีสุวรรณ  โสภารัตน์   อายุ 45 ปี

มารดาชื่อ : นาง  รัตนา  โสภารัตน์    อายุ  45  ปี

ที่อยู่ : 9/3 หมู่ 2 ตำบลโคกเคียน อำเภอ ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

จำนวนพี่น้อง :  4 คน   ผมเป็นลูกคนที่ 2 และ มีพี่ชาย 1 คน น้องชาย 1 คน  น้องสาว 1 คน

ศึกษามัธยมตอนต้น : โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีตะกั่วป่า

ศึกษามัธยมตอนปลาย : โรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล

ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้น : ม.5

งานอดิเรก : ตกปลา

อาหารที่ ชอบ : ต้มยำกุ้ง

เบอร์โทรศัพท์ : 0898683731