วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ประวัติเมืองพังงา
ประวัติเมืองพังงา
        จังหวัดพังงาเดิมเชื่อวันว่าชื่อ "เมืองภูงา"  ตามชื่อเขางาหรือเขาพังงาหรือกราภูงา หรือ พังกา (ภาษามลายู  แปลว่า ป่าน้ำภูงา)  ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดพังงาปัจจุบัน  ในสมัยก่อนเมืองภูงาขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช   ในสมัยรัชกาลที่ 2  ชื่อของเมืองภูงาได้ปรากฎอยู่ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช  เป็นเมืองขึ้นฝ่ายกรมพระสุรัสวดีฝ่ายซ้าย  เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองกับเมืองภูเก็ต  และเหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น  สันนิษฐานกันว่าน่าจะเนื่องมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรร์  มีชาวต่างชาติมาติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก  และช่าวต่างชาติเหล่านี้คงออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมืองพังงา   เพราะแต่เดิมช่าวต่างชาติเขียนชื่อเมืองภูงาว่า  Phunga  หรือ  Punga  อ่านว่าภูงา  หรือพังงา  หรือ พังกา  ก็ได้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
      จังหวัดพังงา  เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย  โดยเฉพาะปรากฎหลักฐานจากการขุดค้นของนักโบราณคดี  พบว่าเครื่องมือและภาพเขียนสีแบบต่างๆ  ตามถ้ำในละแวกอ่าวพังงา  ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอทับปุด  และยังพบเครื่องมือขวานหินขัดอาวุูที่ทำด้วยกระดูกสัตว์  อีกทั้งค้นพบภาชนะที่ทำจากดินเผาที่อำเภอตะกั่วป่า  ทำให้เชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณเมื่อราวหลายพันปีมาแล้ว

สมัยประวัติศาสตร์
        ได้มีการขุดค้นพบเทวรูปพระวิษณุหรือพระนาราย์  และชิ้นส่วนของเทวรูปชนเขาเวียง  ที่อำเภอกะปง  ทำให้เชื่อว่ามีบรรดานักเดินเรือ  พ่อค้า  พราหมณ์ และช่างฝีมือจากอินเดีย  อยู่ในเขตการปกครองของราชวงศ์ปัลลวะ  นับถือศษสนาฮินดูได้มาขึ้นบกที่ตะกั่วป่า  นอกจากนี้ในตำนานเมืองนครศรีรธรรมราชได้กล่าวถึงเมืองตะกั่วถลาง  เป็นชุมชนที่มีการขุดแร่ดีบุก  ชาวพื้นเมืองสมัยนั้นเรียกดีบุกว่า  "ตะกั่วดำ"   ดังนั้นเมืองตะกั่าวถลางน่าจะหมายถึงบริเวณอำเภอตะกั่วป่าและอำเภอตะกั่วทุ่ง  ในเขตจังหวัดพังงา  และอำเภอถลางในเขตจังหวัดภูเก็ต
สมัยกรุงศรีอยุธยา
        ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตะกั่วป่ามีฐานเป็นเหัวเมืองทางใต้   ส่วนเมืองพังงาเป็นเมืองแขวง  ขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่าวป่า  สมัยนั้นเมืองนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอก  และมีหัวเมืองต่างๆ  ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชหลายเมือง  รวมถึงเมืองตะกั่วป่า   ตะกั่วทุ่ง  และเมืองถลางด้วย  ตะกั่วป่ามาปรากฎชื่ออีกครั้งเมือเกิดสงครามเก้าทัพช่วงปี พ.ศ.2328 



สมัยกรุงรัตนโกสินทร์-ปัจจุบัน
        ในช่วงปี พ.ศ.2352  ครั้นเมือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  รัชกาลที่ 1  เสด็จสวรรคต  และมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รัชกาลที่ 2 พม่าเข้ามาตีเมืองตะักั่วป่า  ตะกั่วทุ่ง  และเมืองถลางจนแตก  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ 2 จึงรับสั่งให้รวบรวมผู้คนอพยพมาตั้งชุมชนใหม่เป็นเมืองพังงาที่ "กราภูงา"  ซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำพังงา  แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง  และจัดการปกครองขึ้นเป็นเมือง  ต่อมาในสมัยพระาบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  โปรดเกล้าฯ  ให้พระยาบริรักษ์ภูธร  (แสง ณ นคร)  เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรก  ยุบเมืองตะกั่วทุ่งมาขึ้นกับเมืองพังงา  และให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
        ตั้งแต่นั้นมาเมืองตะกั่วป่า  เมืองถลาง  และเมืองระนอง  ก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นด้วยการค้าแร่ดีบุก  จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเหล้าเจ้าอยู่ัหัว  รัชกาลที่ 7  เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วประเทศ  จึงยุบเมืองตะกั่วป่าขึ้นกับเมืองพังงา  แต่ยังดำรงควาเมป็นเมืองท่าและเมืองแห่งเหมืองแร่ดีบุกควบคุู่กับภูเก็ตและระนองเรื่อยมา   จนกระทั้งประมาณปี พ.ศ.2524  ราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกลดต่ำลง  ภูเก็ตเริ่มเปลี่ยนเป็นเมืองท่องเที่ยว  ธุรกิจการท่องเที่ยวได้ขยายตัวไปยังจังหวัดใกล้เคียง  ทั้งตรัง  กระบี่  รวมไปถึงเมืองพังงาด้วย  ส่งผลให้การท่องเที่ยวและสภาพเศรษฐกิจของเมืองพังงาดีขึ้น  ปัจจุบันนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดพังงาโดยตรงและมีจำนวนมากขึ้นในทุกๆ  ปี